ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด ?

Last updated: 14 ก.พ. 2565  | 

ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด ?

1.ถังดับเพลิงสารเคมีแห้ง (Dry Powder Extinguishers)

ถังดับเพลิงชนิดนี้ เป็นถังดับเพลิงที่แพร่หลาย และถูกใช้มาอย่างยาวนาน โดยถังดับเพลิงชนิดนี้มีจุดเด่นคือ

     1. สามารถดับไฟคลาส A B และ C ได้ ซึ่งครอบคลุมเชื้อเพลิงทั่วที่เราพบได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า กระดาษ ไม้ น้ำมันเชื้อเพลิง และไฟที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า


     2. มีราคาไม่แพงมาก สามารถเลือกตามประสิทธิภาพที่เราต้องการใช้งานได้ โดยดูจากขนาดของเครื่องดับเพลิง และสมรรถภาพการดับเพลิง หรือ Fire Rating หากเป็นสถานที่ที่ไม่มีเชื้อเพลิงเยอะมากนัก สามารถใช้ Fire Rating 4A5B ก็เพียงพอ หากเป็นโรงงานที่มีเครื่องจักร หรือเชื้อเพลิงไวไฟปริมาณมาก ควรใช้ 6A20B เป็นอย่างต่ำ ในส่วนของปริมาณที่จะใช้ต้องคำนวณจากเชื้อเพลิง ขนาดสถานที่นั้นๆ และจำนวนชั้น


     3. ลักษณะของสารดับเพลิงที่เป็นผงเคมีแห้งนั้น จะคล้ายแป้งที่เราใช้ทำอาหาร ซึ่งถูกอัดด้วยก๊าซเฉื่อยที่บรรจุอยู่ในเครื่องดับเพลิง เวลาที่เราฉีดออกมาตัวสารดับเพลิงจะคลุ้งกระจายทั่วบริเวณที่เราฉีดไป ซึ่งสามารถปกคลุมและดับไฟคลาส A ได้ดี


     4. จากลักษณะของสารที่กล่าวไว้ในข้อ 3 ทำให้ถังดับเพลิงชนิดนี้ไม่เหมาะกับการใช้ในห้องที่ต้องการความสะอาดสูง มีอุปกรณ์ราคาสูงซึ่งอาจเสียจากการที่สารดับเพลิงไปเกาะได้ หรือเป็นพื้นที่ที่ทำความสะอาดได้ยาก


     สรุปแล้ว ถังดับเพลิงนี้เป็นถังดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างดี ดับไฟได้ทั้ง 3 ประเภท A B และ C กับราคาค่อนข้างย่อมเยา แต่แลกมากับความสกปรกที่จะเกิดขึ้นหลังใช้งาน ทำความสะอาดยาก ใช้เวลาค่อนข้างนาน ไม่เหมาะกับสถานที่ที่มีอุปกรณ์ราคาแพง และต้องการความสะอาดสูง จะเหมาะกับสถานที่ภายนอกอาคาร หรือทางเดิน อาคารจอดรถ เป็นต้น


2.ถังดับเพลิง CO2

อีกหนึ่งถังดับเพลิงที่นิยมใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยมีลักษณะเฉพาะดังนี้

     1. สามารถดับไฟคลาส B และ C ซึ่งจะถูกเน้นใช้ไปในการดับไฟคลาส C ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ เนื่องจากเมื่อฉีดออกมาแล้วตัวก๊าซ CO2 ที่ถูกเก็บไว้ในสถานะของเหลวในเครื่องดับเพลิงนั้น จะถูกเปลี่ยนเป็นสภานะก๊าซเมื่อเจอกับอุณหภูมิภายนอก ส่งผลให้เมื่อทำการฉีดเสร็จจะไม่ทิ้งคราบสกปรก และทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าของเรา

     2. เมื่อฉีดออกมาแล้วกลายเป็นไอทันที ไม่ทิ้งคราบสกปรก ทำให้สามารถลดเวลาในการทำความสะอาดลงไปได้เยอะเมื่อเทียบกับถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง จึงนิยมติดตั้งในสถานที่ที่ต้องการความสะอาด มีอุปกรณ์มูลค่าสูง

     3. ราคาถือว่าไม่แพงมากนัก หากเทียบกับเครื่องดับเพลิงชนิดเหลวระเหย และเมื่อนำไปใช้ในห้องที่มีอุปกรณ์มูลค่าสูง เช่น ห้องเซิฟเวอร์ สำนักงาน ห้องระบบต่างๆ ในอาคาร ก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างถูกเลยทีเดียว

     4. เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ จะไม่มีเกจ์วัดแรงดัน หรือ Pressure Gauge เนื่องจากเครื่องดับเพลิงชนิดนี้ต้องใช้แรงดันสูงมาก ทำให้เกจ์ไม่สามารถรับได้ โดยจะต้องตรวจความพร้อมของเครื่องดับเพลิงโดยการชั่งน้ำหนัก โดยน้ำหนักที่พร้อมใช้งานอยู่ที่ระหว่าง 14.5 – 16 กิโลกรัม สำหรับเครื่องดับเพลิง CO2 ขนาด 10 ปอนด์ 


     5. ถังดับเพลิง CO2 นั้นค่อนข้างหนัก ซึ่งน้ำหนักของถังดับเพลิง CO2 นั้นจะอยู่ที่ 14.5 – 16 กิโลกรัมเลยทีเดียว ซึ่งหนักมากกว่าถังดับเพลิงเคมีแห้งขนาด 15 ปอนด์ถึง 4 – 5 กิโลกรัมเลยทีเดียว ดังนั้นขนาดที่จะนิยมใช้ในถังดับเพลิง CO2 นั้นจะอยู่ที่ 10 ปอนด์ ทำให้ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ขนาดกลางขึ้นไป หากผู้ใช้ไม่ค่อยชำนาญอาจจะต้องใช้ถังดับเพลิงหลายถังเพื่อควบคุมไฟ

3. ถังดับเพลิงชนิดสารเหลวระเหย NON - CFC

ถังดับเพลิงชนิดสารเหลวระเหยนั้น ตัวถังจะมีสีเขียว ซึ่งจะพบได้เยอะตามห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ที่ต้องการความสะอาดสูง ซึ่งน้ำยาชนิดนี้มีจุดเด่นดังนี้

1. สามารถดับไฟ A B และ C ได้ ซึ่งค่อนข้างครอบคลุมเชื้อเพลิงทั่วไปที่เราเจอกันในชีวิตประจำวันเหมือนกับถังดับเพลิงเคมีแห้ง ไม่ว่าจะเป็นผ้า ไม้ น้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์ไฟฟ้า

2. น้ำยาชนิดนี้เมื่อถูกฉีดออกมาจะมีลักษณะเป็นไอ สามารถควบคุมเชื้อเพลิงได้ดี ทำให้เหมาะกับสถานที่ที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าเยอะ มูลค่าสูง และต้องการความสะอาดเป็นพิเศษ โดยถังดับเพลิงชนิดนี้กล่าวคือมีข้อดีคล้ายถังดับเพลิง CO2 เลยก็ว่าได้

3. สามารถลดระยะเวลาในการทำความสะอาดลงไปได้มาก เนื่องจากลักษณะเด่นในข้อ 2 เมื่อฉีดออกมาแล้วจะระเหยไปในทันที ทำให้ไม่ทิ้งคราบไว้บนสิ่งของที่เราฉีดใส่ และสามารถใช้ในการดับเอกสารสำคัญได้ เนื่องจากถังดับเพลิงชนิดสารเหลวระเหยนั้นมีการรับรองว่าสามารถดับไฟคลาส A ซึ่งเป็นจำพวก กระดาษ ไม้ ผ้า ได้ และไม่ทำให้เอกสารเสียหายจากสารดับเพลิง

4. สารดับเพลิงเป็นสารสะอาด หรือ Clean Agent ที่มีการทดสอบและรับรองในมาตรฐานสากล สามารถใช้ในห้องที่มีคน สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตได้ และไม่ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศของโลกอีกด้วย ทั้งนี้ถังดับเพลิงสารเหลวระเหยที่วางขายในตลาดบ้านเรามีค่อนข้างหลายเกรด หลายประสิทธิภาพ หลายราคาให้เราเลือกใช้ ขึ้นอยู่กับกำลังและความต้องการของผู้ใช้ โดยควรดูที่ Fire Rating และใบรับรองเป็นสำคัญ

5. ถังดับเพลิงชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับถังดับเพลิงชนิดอื่น แต่หากเทียบด้วยความสามารถที่เยอะกว่าถังดับเพลิง CO2 ไม่ว่าจะเป็น ดับไฟได้ครอบคลุมมากกว่า ซึ่งก็คือคลาส A B และ C ต่างจาก CO2 ที่ดับได้เพียง B และ C รวมไปถังน้ำหนักถังที่น้อยกว่าถังดับเพลิง CO2 ค่อนข้างมาก และยังมีเกจ์วัดแรงดันเหมือนถังดับเพลิงทั่วไปด้วย ทำให้ตรวจสอบความพร้อมได้สะดวกสบายกว่าถัง CO2 มากนัก

สรุปได้ว่า เครื่องดับเพลิงชนิดสารเหลวระเหยนั้น เป็นเครื่องดับเพลิงที่สามารถใช้ทดแทนสาร CO2 ในการดับเพลิงได้ เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดี สะอาด น้ำหนักไม่เยอะมากนักเมื่อเทียบกับถังดับเพลิง CO2

ทั้งนี้สารเหลวระเหยในบ้านเรานั้นค่อนข้างมีให้เลือกหลากหลายเกรด หากเลือกเกรดดีๆ ราคาอาจสูงเกินถังดับเพลิง CO2 หลักพันบาทเลยทีเดียว ดังนั้นหากตั้งใจจะเลือกถังดับเพลิงชนิดนี้แล้ว สิ่งที่ต้องดูให้แน่ชัดเลยคือ

– สมรรถนะการดับเพลิง หรือ Fire Rating ว่าถังดับเพลิงนี้สามารถดับได้ดีแค่ไหน

– ใบรับรองจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ เช่น กรมวิทยาศาสตร์บริการซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อตรวจสอบว่าถังดับเพลิงนี้ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่

 

5. ถังดับเพลิงชนิดโฟม น้ำยา AFFF

ลักษณะเด่นของถังดับเพลิงชนิดนี้ เรียกได้ว่าค่อนข้างเฉพาะซึ่งก็คือ

1. สามารถดับไฟคลาส A และ B ได้เพียง 2 คลาส ซึ่งก็คือผ้า ไม้ กระดาษ เศษใบไม้ น้ำมันเชื้อเพลิง

2. เวลาที่ฉีดออกมา น้ำยาจะออกมาในรูปแบบของโฟม ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการดับเพลิงคลาส A และ B เนื่องจากโฟมนั้นสามารถเข้าไปปกคลุมเชื้อเพลิง เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของไฟ และสามารถป้องกันการปะทุซ้ำได้

3. สารดับเพลิงชนิดโฟมนั้น มีส่วนผสมของน้ำ จึงไม่สามารถนำไปดับไฟที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือไฟคลาส C ได้ เนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ จากการเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าของน้ำในสารดับเพลิงนั่นเอง รวมไปถึงน้ำนั้นมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนตัวถังดับเพลิงได้ดี ดังนั้นการถังดับเพลิงของถังดับเพลิงชนิดโฟมนั้นควรจะต้องเป็นถังสแตนเลส เพื่ออายุการใช้งานที่เหมาะสม

6. ถังดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน

ถังดับเพลิงชนิดนี้จะบรรจุน้ำธรรมดา เป็นสารดับเพลิงพร้อมกับอัดแรงดันเข้าไป ทำให้ประสิทธิภาพในการดับเพลิงนั้นสูงขึ้น โดย

1. ถังดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดันนั้น จะสามารถดับได้เพียงไฟคลาส A เท่านั้น

2. ด้วยคุณลักษณะของน้ำ ที่สามารถปกคลุมเชื้อเพลิงได้ดี และสามารถลดอุณหภูมิของเชื้อเพลิงได้นั้้น ทำให้เครื่องดับเพลิงชนิดนี้สามารถดับไฟคลาส A ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ไม่สามารถนำไปดับเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เนื่องจากน้ำเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า จึงสามารถเกิดอันตรายได้อย่างมาก รวมทั้งตัวถังดับเพลิงควรจะทำจากสแตนเลสเพื่อยืดอายุการใช้งานให้เหมาะสมเช่นเดียวกับถังดับเพลิงชนิดโฟม

 

7. ถังดับเพลิงสูตรน้ำ Low Pressure Water Mist

ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือที่เรียกกันว่า ถังดับเพลิง Low Pressure Water Mist นั้น เป็นถังดับเพลิงที่บรรจุน้ำยาที่ทันสมัยที่สุดในตลาดตอนนี้ โดยจุดเด่นของถังดับเพลิงชนิดนี้ก็คือ

1. สามารถดับไฟได้ทุกคลาสก็คือ A B C D และ K จึงเหมาะกับการติดตั้งในหลายๆ สถานที่ และอุตสาหกรรม

2. สามารถดับไฟคลาส C หรือไฟที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ โดยที่ไม่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ และเนื่องจากน้ำยาไม่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า จึงไม่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายจากการดับเพลิง

3. ด้วยคุณลักษณะของน้ำ น้ำยาดับเพลิงสูตร Low Pressure Water Mist สามารถปกคลุมเชื้อเพลิงได้ดี และสามารถลดอุณหภูมิของเชื้อเพลิงได้นั้้น ทำให้เครื่องดับเพลิงชนิดนี้สามารถดับไฟคลาส A และ B ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. สามารถใช้งานในที่โล่ง ภายนอกอาคาร หรือที่ที่มีลมแรงได้ดี เนื่องจากตัวน้ำยาจะไม่ฟุ้งกระจาย หรือระเหยเหมือนถังดับเพลิงเคมีแห้ง และถังดับเพลิงสารเหลวระเหย

5. เมื่อฉีดสารดับเพลิงออกมา จะไม่ฟุ้งกระจาย ทำให้ทำความสะอาดได้ง่ายกว่าเคมีแห้ง และไม่เป็นอันตรายต่อคน และสิ่งมีชีวิต

6. เครื่องดับเพลิงชนิดนี้สามารถป้องการปะทุซ้ำได้ ซึ่งเป็นข้อดีที่คล้ายกับเครื่องดับเพลิงชนิดโฟม และจะยิ่งมีประโยชน์ต่อเมื่อเชื้อเพลิงเกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งในระหว่างที่เราดับไฟไปแล้วยังพอมีเวลาที่เราสามารถไปตัดไฟก่อนที่เชื้อเพลิงจะปะทุซ้ำได้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้